Monday, May 20, 2024
Latest:
ทั่วไป

!! ธี่หยด เรื่องเล่า ประกวดนางสาวไทย ( 90 ปี ) & มิสแกรนด์ไทยแลนด์ ( 11 ปี) เหลือเชื่อ ณวัฒน์ ประกาศขายมิสแกรนด์ 800 ล้านบาท ไม่มีใครสนใจซื้อ ปัจจุบัน 10,000 ล้านบาท สปอนเซอร์ แบรนด์แอมบาสเดอร์ วิ่งเข้าคิวมิสแกรนด์ หุ้นพุ่ง 200 กว่า %

“คอลัมน์ ธี่หยด ” มิสแกรนด์ไทยแลนด์ (Miss Grand Thailand ) นายณวัฒน์ อิสรไกรศีล ผู้ก่อตั้งเริ่มประกวดแรกในปี 2556 ปี 2564 นายณวัฒน์ ประกาศขาย ลิขสิทธิ์การประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล แบรนด์ของคนไทย ราคา 800 ล้านบาท ประกาศขายทางสื่อ โซเชี่ยล นักธุรกิจ บริษัทต่างๆ ไม่มีใครสนใจเข้ามาซื้อลิขสิทธิ์ประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล ใช้เวลาเพียง 3 ปี นายณวัฒน์ ปั้นอิงฟ้า วราหะ และชาล็อต ออสติน ดังทะลุระดับปรอทวัดความร้อนแตก สปอนเซอร์ แบรนด์แอมบาสเดอร์ วิ่งเข้าหา อิงฟ้า วราหะ ทำให้มิสแกรนด์ไทยแลนด์&มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล ทั่วโลกต่างจับตามอง นายณวัฒน์ นำเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ยังไม่ถึงปี จาก 800 ล้านบาท ไม่มีนักธุรกิจ บริษัท ยักษ์ใหญ่สนใจเทคโอเวอร์ เข้าตลาดหลักทรัพย์ิหุ้นวิ่ง ทะลุปรอท จากประกาศขาย 800 ล้านบาท

ทะยานสู่หลักหมื่นล้านบาท ทำให้อิงฟ้า และชาล็อต ได้รับเงินปันผล และมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ ยอดเงินรวมประมาณ 200 ล้านบาท กระแสโซเชี่ยล ถามตรง แรง ว่าอิงฟ้า และชาล็อต มีเงินรวยมากแบบนี้แล้วทำไม ทำไมไม่ซื้อบ้านด้วยเงินตัวเอง ล่าสุดนายณวัฒน์ ประกาศผ่าน เฟสบุ๊ค Instagrams ตอบกลับคนแชะ อิงฟ้า ชาล็อต บ้านซื้อแล้ว ราคา 32 ล้านบาท แฟนคลับให้บ้าน อิงฟ้า ชาล็อต คนละ 1 หลัง ราคาหลังละ 10 ล้านบาท เรียกว่าปังไม่หยุดฉุดไม่อยู่จริง ๆ สำหรับ 2 นางงามสาวคู่จิ้นแห่งเวทีมิสแกรนด์ไทยแลนด์ อิงฟ้า วราหะ และ ชาล็อต ออสติน ที่ปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้น MGI และยังคงมีงานในวงการให้ได้ติดตามกันรัว ๆ ขณะเดียวกันก็มีแฟนคลับซัพพอร์ตจำนวนมาก แถมยังเปย์ให้แบบจัดหนักอีกด้วย อย่างล่าสุด (14 มีนาคม 2567) ณวัฒน์ อิสรไกรศีล บอสแห่งเวทีมิสแกรนด์ ก็ได้แชร์ภาพจาก IG Story ของ อิงฟ้า-ชาล็อต อยู่หน้าบ้านใหม่หลังใหญ่ พร้อมข้อความว่า “2 ผู้ถือหุ้นใหญ่ MGI คนจะรวยช่วยไม่ได้ แฟนคลับให้บ้านพร้อมที่ดินอีก 2 หลังฟรี ๆ กับอิงฟ้าและชาล็อต มูลค่าร่วม10 ล้านบาท โอนโฉนดเรียบร้อยครับ”จะบอกให้

มิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้เริ่มการประกวดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 โดยมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นผู้ก่อตั้งการประกวด และมีผู้ชนะคนแรกคือ ญาดา เทพนม จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์[2] ในปี พ.ศ. 2559 เป็นปีแรกที่กองประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้นำรูปแบบการประกวดแบบ 77 จังหวัดเข้ามาใช้ในการประกวดโดยได้จัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559[3] โดยผู้ชนะในการประกวดแบบระบบจังหวัดคนแรกคือ สุภาพร มะลิซ้อน จากมิสแกรนด์สงขลา

ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 ภายหลังจากการแถลงข่าวเตรียมจัดการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2020 ณ ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ องค์กรได้มีการประกาศยกเลิกสัญญาถ่ายทอดสดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ผ่านทางช่อง 7 และต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน ปีเดียวกัน ได้มีการออกมาแถลงว่ามิสแกรนด์ไทยแลนด์จะถ่ายทอดสดที่ช่องวัน 31

ในปี พ.ศ. 2565 การประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ได้ดำเนินการเผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการถ่ายทอดสดและการบันทึกสื่อล่วงหน้าแล้วนำมาออกอากาศ ผ่านทางออนไลน์เพียงอย่างเดียว ประกอบด้วยช่องยูทูบแกรนด์ทีวี และเพจเฟซบุ๊กมิสแกรนด์ไทยแลนด์ โดยไม่มีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์อีก เวลา 2 ปี มิสแกรนด์ไทยแลนด์ และมิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล โตแบบก้าวกระโดด แซงหน้าการประกวดนางสาวไทย ที่จัดประประกวดมีอายุยาวนานถึง 90 ปี

การประกวดนางสาวไทย จัดครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยใช้ชื่อว่า “นางสาวสยาม” รัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ซึ่งเป็นสโมสรคณะราษฎร ในปี พ.ศ. 2477 เป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญเป็นปีที่สอง แต่เริ่มจัดการประกวดนางสาวสยามเป็นปีแรก กำหนดระยะเวลาจัดงาน 5 วัน คือวันที่ 8 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ในคืนวันที่ 8 ธันวาคม เป็นการคัดเลือก นางสาวธนบุรี คืนวันที่ 9 ธันวาคม เป็นคัดเลือก นางสาวพระนคร และคืนวันที่ 10 – 12 ธันวาคม เป็นการประกวด นางสาวสยาม โดยผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นคณะกรรมการตัดสิน ต่อมาในพ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนเป็นชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า และได้เพิ่มการสวมใส่ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลังในปีถัดมา

ในยุคที่ 1 จัดการประกวดที่พระราชอุทยานสราญรมย์ ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น “นางสาวสยาม” จำนวน 5 คน และ “นางสาวไทย” จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “สยาม” ให้ใช้คำว่า “ไทย” แทน ดังนั้น การประกวด “นางสาวสยาม” จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด “นางสาวไทย” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482

ขณะที่รัฐบาลกำลังเตรียมจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2484 ซึ่งกำหนดเริ่มในวันที่ 8 ธันวาคม แต่ในเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งหลายแห่ง มีการสู้รบกันที่ บางปู สมุทรปราการ อ่าวมะนาว ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ฯลฯ ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะสงคราม งานฉลองรัฐธรรมนูญในปีนั้นจึงถูกยกเลิกทันที และไม่มีการจัดงานไปจนสงครามสงบ ปัจจุบันนางสาวไทย จัดประกวดนางสาวไทยมาแล้ว 90 ปี

“คอลัมน์ ธี่หยด ”

เครดิต-ภาพบ้าน ณวัฒน์ อิสรไกรศีล ประธานบริหารMGI

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ชมรมสื่อโซเชียลประเทศไทย
095-342-168