Saturday, September 21, 2024
Latest:
ทั่วไป

“ข้าราชการ รับใช้ประชาชน ของจริง มีที่สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ทำดี ต้องชม เชียร์ และแชร์”

สำนักงานข่าวST NEWS รายงานวันจันทร์ที่10กรกฎาคม 2566 ณ สำนักงานอัยการจังหวัดกำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ประชาชนที่มาติดต่อ ขอคำปรึกษาจากสำนักงานอัยการ จ.กำแพงเพชร ต่างชื่นชมการบริการให้คำปรึกษา ของเจ้าหน้าที่ นิติกร ฝ่ายกฏหมาย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง บริการให้ความรู้ ยิ้มแย้ม แจ่มใส บริการดี ไม่เคยเห็นระบบราชการ ที่ให้บริการดีมาก แบบนี้มาก่อน ผู้สื่อข่าวST NEWS ได้สัมภาษณ์ประชาชนที่มาขอคำปรึกษาจากสำนักงานอัยการ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้าราชการ รับใช้ประชาชนมีอยู่จริง ต้องที่ สนง.อัยการจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชนที่มาใช้บริการพึงพอใจ ด้านการบริหารราชการของสำนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่ นิติกร ฝ่ายกฏหมาย ให้คำปรึกษาแก่ประชาชนที่เดือดร้อน และมาขอคำปรึกษา ได้อย่างดี รอยยิ้ม ของเจ้าหน้าที่ สร้างความพึงพอใจ ให้กับประชาชน เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการก็มีความสุขเช่นกัน จ.กำแพงเพชร เป็นจังหวัดมีเขตติดต่อกับจังหวัดตาก จะมีคดียาเสพติดสูงมาก เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการ มีความรักความห่วงใยประชาชน ผู้สื่อข่าวST NEWS เห็นประชาชนมาขอคำปรึกษาเรื่องกฏหมาย ตั้งแต่เวลา09.00น.ประมาณ20คน เจ้าหน้าที่บริการ พูดคุยกับประชาชนที่มาติดต่อ แบบเป็นกันเอง ฝ่ายกฏหมาย นิติกรให้คำปรึกษาฟังเข้าใจง่าย มีพื้นที่ว่างตรงไหน ปรึกษาคุยกันตรงนั้น เวลา12.20น. ช่วงพักรับประทานอาหาร ฝ่ายกฏหมาย นิติกร ก็ยังให้คำปรึกษา ด้วยรอยยิ้ม สร้างความประทับใจ อย่างยิ่งใหญ่แก่ประชาชน ป้าอายุ65ปี อยู่ อำเภอคลองลาน ไม่ประสงค์ออกนาม บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ตนเองอาศัยอยู่กับลูกสาวที่ กรุงเทพฯเดินทางมาทำพินัยกรรม เรื่องแฟนเสียชีวิต บอกว่าประทับใจมาก นิติกร ให้ความรู้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และที่สำคัญรอยยิ้มของเจ้าหน้าที่ประทับใจมาก ป้าขายสลากกินแบ่งรัฐบาล เดินมาคุยกับนักข่าว ป้าเดินขายสลากกินแบ่งรัฐบาล ไปทั่วทั้งจังหวัด สำนักงานอัยการบริการดีที่สุด ตั้งแต่คนขับรถ พนักงานต้อนรับ รปภ.นิติกร เจ้าหน้าที่สำนักงานทั้งหมด ประชาชนที่มาปรึกษากฏหมาย กลับไปด้วยรอยยิ้มกันทุกคน

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด
มีการกิจหลักในด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประซาชน โดยมีพันธกิจในการพัฒนางาน
สิทธิมนุษยชนและส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนคนไทยทั้งในประเทศ
งานด้านการคุ้มครองสิทธิทางศาลแก่ประชาชน เป็นภารกิจหนึ่งของพนักงานอัยการ
ในการให้ความช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการไว้ใน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา : และกฎหมายอื่นๆ โดยไม่จำกัดฐานะ
ของบุคคลผู้ร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก การร้อง
อตั้งผู้ปกครอง การร้องขอถอนและตั้งผู้ปกครอง การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ เป็นต้น ตลอด
ระยะเวลาที่ดำเนินงานมาปรากฏว่ามีประชาชนมาขอรับบริการ ทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด มีปริมาณ
ธุงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้การดำเนินงานของบุคลากรด้านการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่
ประชาชน ต้องมีการสร้างมาตรฐานในการพิจารณาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่จำเป็นต่อการ
ดำเนินคดีในชั้นศาล ให้เป็นเอกภาพเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ปรับเปลี่ยนและสร้างวัฒนธรรมการทำงาน
โดยใช้คู่มือ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ประชาชนผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจ

                     อัยการในประเทศไทย เป็นตำแหน่งที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมเรียกว่า "ยกกระบัตร" หรือ "ยกระบัตร" มีหน้าที่สอดส่องดูแลความผิดและชอบของเจ้าเมืองและกรมการเมือง และสอดส่องอรรถคดีความทั่วไปในหัวเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมอัยการขึ้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศรวมพนักงานอัยการ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2458 และทรงพระราชดำริให้เปลี่ยนชื่อเรียกคำว่า   "ยกระบัตร" เป็นคำว่า "อัยการ" ทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ตั้งแต่ พ.ศ. 2465 ทรงมีพระบรมราชโองการให้กรมอัยการ ย้ายสังกัดจากกระทรวงยุติธรรมไปสังกัดกระทรวงมหาดไทยจนกระทั่ง พ.ศ. 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) ได้มีประกาศ รสช. ฉบับที่ 47 และฉบับที่ 49 แยก กรมอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นหน่วยงานราชการอิสระอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี เปลี่ยนชื่อจาก “กรมอัยการ” เป็น “สำนักงานอัยการสูงสุด” และเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “อธิบดีกรมอัยการ” เป็น “อัยการสูงสุด” ต่อมาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 255 ได้บัญญัติให้ องค์กรอัยการ เป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ กำหนดให้พนักงานอัยการ มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการและกฎหมายอื่น โดยให้มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม
                     การแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของคณะ กรรมการอัยการ และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา ผลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังกล่าว เป็นการยกฐานะสำนักงานอัยการสูงสุดให้เป็นองค์การอื่นตามรัฐธรรมนูญที่มี ความเป็นอิสระ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาและกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ทั้งเป็นการยกฐานะตำแหน่ง อัยการสูงสุด ให้เทียบเท่ากับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา เป็นครั้งแรก ซึ่งต่อมาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้การทำหนังสือถึงอัยการสูงสุดคำขึ้นต้นให้ ใช้คำว่า “กราบเรียน” ส่วนคำลงท้ายให้ใช้คำว่า “ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง”

                     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 255 ได้กำหนดให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้โดยมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติ หน้าที่โดยปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการและอิทธิพลอื่นใด โดยบัญญัติให้พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม และให้องค์กรอัยการมีหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังบัญญัติให้การแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจาก ตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของคณะกรรมการอัยการ และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาซึ่งเป็นจุดยึดโยงกับอำนาจของประชาชนเนื่อง จากพนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน และยังมีกฎหมายอีกจำนวนหลายฉบับได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดเพิ่ม มากขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 68 บัญญัติให้อำนาจอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยกรณีบุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มา ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ,การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับพรรคการเมืองตาม กฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น

                     ความเป็นอิสระขององค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 255 ในเชิงโครงสร้างทำให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญมี ความเป็นอิสระ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาและกำกับดูแลของฝ่ายบริหารอีกต่อไป ในเชิงเนื้อหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมและมีหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระใน การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การสร้างหลักประกันความเป็นอิสระดังกล่าวสอดคล้องกับบทบาทของอัยการตามกติกา ความร่วมมือระหว่างประเทศตามแนวทางของสหประชาชาติ กติกาความร่วมมือระหว่างประเทศตามแนวทางของสมาคมอัยการระหว่างประเทศ และกติกาความร่วมมือระหว่างประเทศตามแนวทางของสหภาพยุโรป

                     ปัญหาว่าความเป็นอิสระขององค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญมีความหมายมากน้อยเพียง ใดมีความเป็นอิสระเช่นเดียวกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแล้วเห็นว่ารัฐธรรมนูญต้องการให้องค์กร อัยการมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการแทรกแซงจากองค์กร ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และอิทธิพลอื่นใด เช่นเดียวกับความเป็นอิสระขององค์กรศาลคือศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม และศาลปกครอง แม้องค์กรอัยการจะมีความเป็นอิสระเช่นเดียวกับองค์กรศาล แต่มีข้อจำกัดบางประการ เช่น องค์กรอัยการไม่มีสิทธิในการเสนอร่างกฎหมายได้เอง ในขณะที่องค์กรศาลมีสิทธิที่จะเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือ ร่างพระราชบัญญัติอื่นเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรตามกฎหมายที่ ประธานศาลเป็นผู้รักษาการตามนัยรัฐธรรมนูญฯมาตรา 139(3) และมาตรา 142(3) แม้รัฐธรรมนูญจะรับรองความเป็นอิสระขององค์กรอัยการ แต่สถานะขององค์กรอัยการยังถือว่าเป็นส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานทางปกครอง และบุคลากรยังคงเป็นข้าราชการซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่นเดิม

                     หลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการนอกจากจะ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯแล้วยังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 21 และมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 มาตรา 21 บัญญัติว่า “พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญและตามกฎหมายโดยสุจริตและเที่ยงธรรม” และมาตรา 22 บัญญัติว่า ”ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 21 ซึ่งได้แสดงเหตุผลอันสมควรประกอบแล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครอง” แม้ว่าพนักงานอัยการจะมีความเป็นอิสระในการสั่งคดีแต่ความเป็นอิสระดังกล่าว ยังถูกควบคุมตรวจสอบทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร

                     การตรวจสอบภายในองค์กร สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดี อาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 วางมาตรการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการโดยเคร่งครัด มีการตรวจสอบและทำความเห็นการพิจารณาสั่งคดีตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา เช่น อัยการชั้น 4   ผู้ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการเมื่อได้รับมอบหมายให้พิจารณา สำนวนคดีใด   ให้ตรวจพิจารณาสำนวนแล้วทำความเห็นเสนอหัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่ง เว้นแต่คดีนั้นมีอัตราโทษแต่ละฐานความผิดจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสิบปี   และหรือมีโทษปรับไม่ถึงสองหมื่นบาท   ให้มีอำนาจสั่งคดีนั้นได้เช่นเดียวกับหัวหน้าพนักงานอัยการ   แต่ต้องเสนอหัวหน้าพนักงานอัยการเพื่อทราบทันที อัยการชั้น 2   อัยการชั้น 3  เมื่อได้รับมอบหมายให้พิจารณาสำนวนคดีใด  ให้ตรวจพิจารณาสำนวนแล้วทำความเห็นเสนอผู้กลั่นกรองงานเพื่อทำความเห็นเสนอ หัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่งหรือหากเป็นคดีสำคัญ เช่น  โดยฐานความผิดโดยฐานะของผู้ต้องหา  จำเลยหรือผู้เสียหายหรือคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไปให้หัวหน้า พนักงานอัยการ พิจารณาเข้าร่วมดำเนินคดีหรือควบคุมการดำเนินคดีโดยใกล้ชิด  และให้รายงานผลการดำเนินคดีดังกล่าวให้สำนักงานอัยการสูงสุดทราบเป็น กรณีพิเศษโดยผ่านอธิบดี ในคดีสำคัญสำนักงานอัยการสูงสุดจะมีการแต่งตั้งคณะทำงานในการพิจารณาคดี  เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับที่ให้อำนาจอัยการสูงสุดเป็นผู้วินิจฉัย สั่งคดีได้แต่เพียงผู้เดียว อำนาจของอัยการสูงสุดดังกล่าวมีลักษณะเป็น “องค์อำนาจ” มิ ใช่อำนาจตัวบุคคล แต่เป็นอำนาจขององค์กร แต่เนื่องจากอัยการสูงสุดเป็นประมุขขององค์กรการใช้อำนาจดังกล่าวจึงต้องมอบ ให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ใช้อำนาจ ในทางปฏิบัติก่อนที่อัยการสูงสุดจะใช้อำนาจดังกล่าว จะมีการตรวจสอบตามลำดับชั้นการบังคับบัญชาหรือกรณีเป็นเรื่องสำคัญจะมีการ ตรวจสอบโดยคณะทำงาน อัยการสูงสุดมิได้พิจารณาหรือมีความเห็นแต่เพียงผู้เดียว


       การตรวจสอบภายนอกองค์กร การตรวจสอบคำสั่งของพนักงานอัยการกรณีสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ หรือไม่ฎีกาในกรณีต่างจังหวัดต้องส่งสำนวนการสอบสวนไปยังผู้ว่าราชการ จังหวัดเพื่อให้หน่วยงานทางปกครองตรวจสอบถ่วงดุลคำสั่งของพนักงานอัยการ ส่วนในกรุงเทพมหานครให้ส่งสำนวนไปยัง  ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อให้ตรวจสอบถ่วงดุลคำสั่งของพนักงานอัยการ

         นอกจากนี้อัยการสูงสุดและพนักงานอัยการยังถูกตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่โดย สภาผู้แทนราษฎรและชาชนทั่วไปโดยเข้าชื่อร้องขอต่อวุฒิสภาให้ถอดถอนได้อีก ด้วย กรณีมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ  ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงอีกด้วย(รัฐ ธรรมนูญฯมาตรา 270,271)

         จึงเห็นได้ว่าแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 255 จะสร้างหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการโดย ปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการและอิทธิพลอื่นใดก็ตาม การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการยังคงถูกควบคุมตรวจสอบโดยภายในองค์กรของ สำนักงานอัยการสูงสุดและภายนอกองค์กร รวมถึงถูกควบคุมตรวจสอบโดย                      สภาผู้แทนราษฎรและชาชนทั่วไปอีกด้วย การสร้างหลักประกันความเป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญฯและการควบคุมตรวจสอบดังกล่าว เป็นหลักประกันได้ว่า ประชาชนทั่วไปย่อมได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ

ภาพ-ข่าว

น.ส.จันทกานต์ เรืองอิ่ม
น.ส.ญาณพันธุ์ จิตมณี
น.ส.ณัฐญาพร ส่องสว่าง
น.ส.ธนัทอร พิลาถ้อย
น.ส.อภิชญา มีผิว
น.ส.อมราพร คงสิพัฒน์
น.ส.พัณณิตา สายสินธุ์
น.ส.เก้าตะวัน ชื่นอำพัน
น.ส.ประภาศิริ ประฉิมมะ
ต้นกล้านักข่าวST NEWS โรงเรียนขาณุวิทยา

🚖🚙เบิร์ดคาร์วอซ 🚙🚗‼️เปิดให้บริการแล้ว ‼️กับร้านล้างรถหยอดเหรียญ ตาซ่วน ทำงาน 4 ระบบ 🛑ฉีดน้ำ 🛑ฉีดโฟม 🛑เป่าลม 🛑ปะปา เริ่มต้น 5 บาท อยู่ถนน เส้นขาณุ(ตาซ่วน) -ทุ่งสนุ่น ห่างไฟแดง (สัญญาณไฟ) 400 เมตร ติดร้านลาบน้องใหม่ แวะมาล้างกันเถอะ #ล้างรถหยอดเหรียญ เริ่มต้น 5 บาท#ล้างรถหยอดเหรียญตาซ่วน#ล้างรถหยอดเหรียญขาณุ#ล้างรถทุกชนิดรถจักรยาน รถยนต์🦼🛴🛵🛺🚘🚍🚔🚖🏎🚗🚕🏎🚑 มอเตอร์ไซค์ รถไถ อีแม๊ะ ขอให้แวะมา ‼️เริ่มต้น 5 บาทเอง ‼️ สอบถามรายละเอียดโทร.. 096-3893762 เบิร์ดครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ชมรมสื่อโซเชียลประเทศไทย
095-342-168