Saturday, September 21, 2024
Latest:
ทั่วไป

!รับรองไปก่อน สอยทีหลัง กกต.เจอ สว.ตัวตึง ระดับประเทศ 77 จังหวัด เตรียมตัวเข้าห้อง ICU หรือเข้าซังเต กรรมอยู่ที่การกระทำ

สำนักงานข่าวหนังสือพิมพ์STNEWS รายงานวันที่ 13 กรกฎาคม 2567 พล.ต.ท.วรัตม์ชัย ศรีรัตนวุฑฒิ อดีตหัวหน้าจเรตำรวจ ผู้สมัคร สว.กลุ่ม 1 ระดับประเทศจังหวัดสมุทรสาคร โพสต์ ทุกขั้นตอน การฮั้ว บล็อกโหวต เจ้าหน้าที่รับสมัคร ไม่ตรวจสอบ

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับอำเภอ

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561
    ได้กล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตาม
    พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปโดยสุจริต
    และเที่ยงธรรม และเป็นระเบียบเรียบร้อย อันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งการตรา
    พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของ
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
  2. ผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ให้ดำเนินการตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด
    และประเทศ ตามลำดับ (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิก
    วุฒิสภา พ.ศ. 2561 หมวด 2 มาตรา 24 – 32 / ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง
    ว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ข้อ 6 – 23)
  3. ผู้สมัคร หมายถึง ผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา มีสิทธิ 2 สถานะ คือ
    3.1 สิทธิได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ผู้ได้รับเลือก)
    3.2 สิทธิเลือกผู้สมัครอื่น (ผู้เลือก)
  4. ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา
    4.1 ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 13 (ความรู้ความเชี่ยวชาญประสบการณ์อยู่ใน
    มาตรานี้) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14
    4.2 ต้องไม่เป็นบุคคลผู้ถูกจำกัดสิทธิตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรค
    การเมือง

4.3 ให้มีสิทธิสมัครเข้ารับเลือกในกลุ่มตามข้อ 45 (ระเบียบก.ก.ต.) ได้เพียงกลุ่ม
เดียวและอำเภอเดียว (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิก
วุฒิสภา พ.ศ. 2561 หมวด 1 มาตรา 11, 13 และ 14 / ระเบียบคณะกรรมการ
การเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ข้อ 46 – 48]

  1. ตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ว. 2567 ข้อ 51 การยื่นใบสมัครให้ผู้สมัครใน
    เขตอำเภอยื่นเอกสารและหลักฐานประกอบการสมัครด้วยตนเองต่อผู้อำนวยการเลือกตั้ง
    ระดับอำเภอ ณ สถานที่ที่ผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอกำหนด ภายในระยะเวลาการ
    สมัคร ดังนี้ มีทั้งหมด 11 ข้อ ที่สำคัญคือข้อ 11 ให้ผู้สมัครยื่นเอกสารสำเนาหลักฐาน
    อื่นนอกจาก (1) – (10) ที่ผู้สมัครนำมาแสดงตนว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน (รวมถึง
    ความรู้ความเชี่ยวชาญประสบการณ์ซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งในทั้งหมดด้วย) และลักษณะ
    ต้องห้ามฯ (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.
    2561 มาตรา 16 / ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
    ข้อ 51 และ 52)
    ตามข้อเท็จจริงแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งเจตนาจงใจหลีกเลี่ยงไม่ขอเอกสาร
    และหลักฐานในข้อนี้ไว้สำหรับใช้ในการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ
    ผู้สมัคร มีเจตนาส่อไปในทางไม่สุจริตเพื่อให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไม่เป็นไปโดยสุจริต
    และเที่ยงธรรมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทั้งที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ออก
    ระเบียบใช้ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไว้แล้วและต้องตรวจสอบว่า
    เอกสารหลักฐานการสมัครครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
  2. ผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
    6.1 การจัดสถานที่รับสมัครและสถานที่เลือกตั้ง

6.2 จัดให้มีการรับสมัคร
6.3 ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัคร
6.4 จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามแยกเป็นราย
กลุ่มในเขตอำเภอ โดยอย่างน้อยต้องระบุอาชีพอายุของผู้สมัครและประกาศให้ประชาชน
ทราบเป็นการทั่วไป
6.5 จัดทำเอกสารหรือข้อมูลแนะนำตัวของผู้สมัครทุกคนเพื่อให้ผู้สมัครตรวจสอบ
และประโยชน์ในการเลือก (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่ง
สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 28 / ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วย
การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ข้อ 19)
6.6 เมื่อผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอได้รับใบสมัครของผู้สมัครแล้วให้
ตรวจสอบเบื้องต้นว่าการลงรายการในใบสมัคร ค่าธรรมเนียมการสมัคร เอกสารและ
พยานหลักฐานการสมัครครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องให้คืน
ใบสมัคร ค่าธรรมเนียมการสมัครพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานการสมัครดังกล่าวแก่
ผู้สมัครผู้นั้น เพื่อดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องแล้วนำมายื่นใหม่ภายในกำหนดระยะเวลา
การรับสมัคร
กรณีผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอ ได้ตรวจสอบหลักฐานครบถ้วนถูกต้องแล้วให้
สอบถ้อยคำเพื่อยืนยันว่าเป็นผู้มีสิทธิสมัครแล้วลงบันทึกการรับสมัครไว้เป็นหลักฐาน พร้อม
ทั้งออกใบรับสมัคร (สว. อ. 10) แก่ผู้สมัคร ฯลฯ (ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า
ด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ข้อ 52]
6.7 ภายในระยะเวลา 5 วันนับแต่วันสิ้ นสุดระยะเวลาการรับสมัคร ให้
ผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอตรวจสอบเอกสารและ พยานหลักฐานการสมัคร

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครตามข้อ 46 (ระเบียบ กกต.) การถูกจำกัดสิทธิ
ตามข้อ 47 (ระเบียบ กกต.) และการสมัครหนึ่งกลุ่มหรือหนึ่งอำเภอตามข้อ 48 (ระเบียบ
กกต.) ให้เสร็จสิ้น หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ไม่ถูกจำกัดสิทธิ และได้สมัครรับเลือกเพียงกลุ่มเดียวและอำเภอเดียวให้ประกาศบัญชี
รายชื่อผู้สมัครตามแบบ สว. อ. 13 ฯลฯ (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย
การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 21 / ระเบียบคณะกรรมการการ
เลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ข้อ 57)
โดยสรุปแล้ว กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภามี 3 ระดับ คือ ระดับอำเภอ ระดับ
จังหวัด และระดับประเทศ โดยเริ่มที่ระดับอำเภอเป็นระดับแรก ซึ่งกฎหมายและระเบียบที่
เกี่ยวข้องได้บัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอในการ
จัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยง
ธรรม และเป็นระเบียบเรียบร้อยอันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ดังนั้น ผู้อำนวยการ
เลือกตั้งระดับอำเภอมีอำนาจและหน้าที่ในการตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามตาม
กฎหมายของผู้สมัครว่าเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภาหรือไม่ จำนวน 2 ครั้ง
ก่อนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสมัครเป็นผู้สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา ดังนี้
ครั้งที่ 1 คือ เมื่อได้รับใบสมัครของผู้สมัครแล้วให้ทำการตรวจสอบในเบื้องต้นว่า
เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะเอกสารและหลักฐานอื่นที่ให้ผู้สมัคร
นำมายื่นเพื่อแสดงตนว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติ (รวมถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์
ฯ) และไม่มีลักษณะต้องห้ามฯ ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือก
สมาชิกวุฒิสภา ข้อ 51 (11) (ระเบียบ กกต.) ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน
หรือไม่ถูกต้องให้คืนใบสมัคร และค่าธรรมเนียมการสมัครพร้อมเอกสารหลักฐานการสมัคร

แก่ผู้สมัครนั้น เพื่อดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องแล้วนำมายื่นใหม่ (ระเบียบคณะกรรมการ
การเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ข้อ 52 วรรคหนึ่ง)
ครั้งที่ 2 คือ ภายในระยะเวลา 5 วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาสมัคร ให้ทำการ
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการสมัครตามข้อ 1. อีกครั้งเป็นครั้งที่ 2 และครั้งนี้หาก
ตรวจสอบแล้วเห็นว่า ผู้สมัครมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ไม่ถูกจำกัดสิทธิและได้
สมัครรับเลือกเพียงกลุ่มเดียว/อำเภอเดียว ให้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกสมาชิก
วุฒิสภา (คือผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนฯ) เผยแพร่ให้ทราบเป็นการทั่วไป กรณี
ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าผู้สมัครผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือถูกจำกัดสิทธิ
หรือสมัครมากกว่าหนึ่งกลุ่มหรือหนึ่งอำเภอ หรือแสดงข้อมูลในใบสมัครหรือเอกสารหรือ
หลักฐานประกอบการสมัครอันเป็นเท็จให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอสั่งไม่รับสมัคร
(พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561
มาตรา 21 / ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ข้อ 57
วรรคหนึ่งและสอง)
โดยข้อเท็จจริงแล้วผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอมิได้ดำเนินการตรวจสอบตาม
หน้าที่และอำนาจดังกล่าวข้างต้นแต่อย่างใด กลับมีเจตนาหลีกเลี่ยงละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่
ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำการอื่นใดอันเป็นการขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ ฯลฯ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิก
วุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ดังนี้

  1. ไม่ทำการตรวจสอบเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ของผู้สมัคร ในการยื่นใบสมัคร
    ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ (2 ครั้ง โดยเฉพาะเอกสารและหลักฐานอื่นตามระเบียบ
    คณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ข้อ 51 (11) (ระเบียบ กกต.)
    ที่กำหนดให้ผู้สมัครยื่นสำเนาหลักฐานอื่นที่ผู้สมัครนำมาแสดงตนว่าเป็นผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ

ครบถ้วน (รวมถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ฯ) และไม่มีลักษณะต้องห้าม ไม่
ถูกจำกัดสิทธิ กรณีเห็นว่าไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องให้คืนใบสมัคร ค่าธรรมเนียมการสมัคร
พร้อมเอกสารและหลักฐานการสมัครแก่ผู้นั้น และครั้งที่ 2 ภายในระยะเวลา 5 วันนับแต่
วันสิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร ยังไม่ทำการตรวจสอบเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ทั้งหมด
ของผู้สมัครอีกครั้ง และไม่ตรวจสอบผู้สมัครว่าเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.หรือไม่
อย่างไร ก่อนที่จะประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก ส.ว. ตามกฎหมายและระเบียบ
ที่เกี่ยวข้อง แต่กลับพิจารณาว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม พร้อมประกาศ
รายชื่อเผยแพรให้ทราบเป็นการทั่วไป (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการ
ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 21 / ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่า
ด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ข้อ 52 วรรคหนึ่ง และ 57 วรรคหนึ่งและสอง)

  1. ไม่ทำการตรวจสอบลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครโดยเฉพาะด้านความสัมพันธ์เป็น
    บุพการีหรือบุตร คู่สมรส ทั้งที่ข้อมูลบุคคลนี้อยู่ในความรับผิดชอบหน่วยงานในสังกัด
    กระทรวงมหาดไทยโดยตรง ผู้อำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอสามารถตรวจสอบข้อมูลได้
    เองตลอดเวลา กลับหลีกเลี่ยง ละเว้น รอให้ผู้สมัครอื่นยื่นแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ทราบก่อน
    จึงจะดำเนินการตรวจสอบตัดสิทธิผู้สมัครนั้นได้ (หากผู้สมัครฯ ไม่แจ้ง ก็จะไม่ดำเนินการ
    ตรวจสอบให้)
  2. ไม่ทำการตรวจสอบคุณสมบัติ (รวมถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ฯ)
    ตามข้อร้องเรียนหรือหนังสือร้องเรียนของผู้สมัครอื่น โดยแจ้งว่ามีหลักฐานหนังสือรับรอง
    ความรู้ความเชี่ยวชาญฯ (สว. 4) ซึ่งมีผู้รับรองและมีพยานรับรองแล้วสามารถใช้ยืนยัน
    ความถูกต้องได้อย่างเพียงพอแล้วโดยไม่ต้องตรวจสอบจากเอกสารและหลักฐานอื่นอีกที่
    ผู้สมัครแสดงตนว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติแต่อย่างใด กรณีตรวจสอบพบว่าไม่ถูกต้องในภายหลัง
    สามารถตัดสิทธิและดำเนินคดีกับผู้สมัคร ผู้รับรอง พยานรับรองได้ในภายหลังได้
  1. ไม่ตรวจสอบ สืบสวน สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานในประเด็นข้อสงสัยที่
    เชื่อว่ามีการทุจริตหรือกระทำผิดกฎหมาย (จัดตั้งคนลงสมัครเพื่อให้ผู้นั้นซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ
    เลือกลงคะแนนหรือไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้ใด) เช่น
    4.1 ผู้สมัครร่วมเดินทางไปสมัครพร้อมกัน โดยยานพาหนะคันเดียวกัน
    สมัครกลุ่มอาชีพเดียวกัน เป็นบุคคลในชุมชน / ตำบลเดียวกัน เคยช่วยหาเสียง
    เลือกตั้งให้กับอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนเดียวกัน
    4.2 ผู้สมัครเป็นเครือญาติที่ใช้นามสกุลเดียวกัน อยู่ในชุมชน / ตำบล
    เดียวกันหรือใกล้เคียง ลงสมัครในกลุ่มอาชีพเดียวกันและต่างกลุ่มอาชีพ
    4.3 ผู้สมัครกลุ่มนี้ไม่มีการแนะนำตัวทั้งก่อน / หลังการรับสมัคร เหมือน
    เช่นผู้สมัครทั่ว ๆ ไป และจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าผู้สมัครกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์อย่าง
    ใกล้ชิดกับนักการเมือง / กลุ่มการเมืองในพื้นที่
    ทั้งนี้ ประเด็นหลีกเลี่ยง ละเว้น ตามข้อ 2 – 4ได้มีหนังสือร้องเรียนผู้อำนวยการ
    เลือกตั้งอำเภอบ้านแพ้ว ผู้อำนวยการเลือกตั้งจังหวัดสมุทรสาคร และคณะกรรมการ
    เลือกตั้ง ให้ดำเนินการตั้งแต่ 28, 29 พ.ค. 67 หลังจากพบเหตุการณ์ที่เชื่อว่ามีการทุจริต
    หรือกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นแล้ว (จัดตั้งคนลงสมัครเพื่อลงคะแนน หรือไม่ลงคะแนน
    ให้แก่ผู้สมัครคนใด แต่จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่เคยได้รับการติดต่อให้ผู้ร้องไปให้รายละเอียด
    ดังกล่าวแต่อย่างใด และสำหรับประเด็นลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเกี่ยวกับความสัมพันธ์
    เป็นบุพการี หรือบุตร คู่สมรสนั้น เมื่อได้ยื่นข้อร้องเรียนต่อผู้อำนวยการเลือกตั้งอำเภอบ้าน
    แพ้วแล้วเป็นระยะเวลา 7 วันก็มิได้มีการดำเนินการตรวจสอบให้แต่อย่างใดเช่นกัน ผู้ร้องจึง
    นำข้อมูลผู้สมัครที่ต้องสงสัยไปให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งอำเภอบ้านแพ้วทำการตรวจสอบตัด
    สิทธิผู้สมัครได้จำนวน 5 ราย และต่อมาในวันกำหนดรับแบบ สว.3 ผู้ร้องได้นำข้อมูลผู้สมัคร

ที่ต้องสงสัยไปให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งอำเภอบ้านแพ้วทำการตรวจสอบตัดสิทธิผู้สมัครได้
เพิ่มอีกจำนวน 4 ราย
ข้อสังเกตุ

  • การเลือก สว. แต่ละระดับ พบว่า ผู้สมัครกลุ่มจัดตั้ง แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
    1) ฝ่ายผู้ได้รับเลือก จะได้รับคะแนนสูงผิดปกติ
    2) ฝ่ายผู้เลือก (voter) จะได้เพียง 1 คะแนน หรือไม่มีคะแนน
  • การเลือก สว. ระดับจังหวัด พบว่า
    1) ฝ่ายผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอจำนวนมาก จะเปลี่ยนเป็นฝ่ายผู้เลือก (voter)
  • การเลือก สว. ระดับประเทศ พบว่า
    1 ฝ่ายผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัดจำนวนมาก จะเปลี่ยนเป็นฝ่ายผู้เลือก (voter)
    ด้วยข้อเท็จจริงที่กล่าวมานี้ การหลีกเลี่ยง และละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ของ
    คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่การเลือกสมาชิกวุฒิสภาในระดับอำเภอ ได้ส่งผลกระทบต่อ
    การเลือกสมาชิกวุฒิสภาในระดับจังหวัด และประเทศ ตามลำดับ ที่ผู้สมัครสมาชิก
    วุฒิสภาและประชาชนทั่วไปได้ทราบ ได้เห็น รวมถึงที่ปรากฎทางสื่อมวลชนแล้ว
    พล.ต.ท. วรัตม์ชัย ศรีรัตนวุทฒิ
    อดีตหัวหน้าจเรตำรวจ / ผู้สมัครกลุ่ม 1 อำเภอบ้านแพ้ว สุมทรสาคร
    13/7/67

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ชมรมสื่อโซเชียลประเทศไทย
095-342-168