Saturday, September 21, 2024
Latest:
ทั่วไป

ห่างหาย3ปี เพราะไวรัสโควิด สมกับการรอคอย คลื่นมนุษย์หลายพันคนแน่นวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม ประเพณีแห่ธงสงกรานต์

สำนักงานข่าว ST NEWS รายงานวันอาทิตย์ที่16 เมษายน2566 นายอนันต์ ทองดอนเถื่อน ผู้ใหญ่บ้าน ม.3 ทุ่งสนุ่นใต้พร้อมกรรมการหมู่บ้าน จัดใหญ่ จัดเต็มหลังจากว่างเว้นมา3ปี ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ประจำปี2566 ของวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม หมู่2-3-4-6-7-8 ต่างไม่น้อยหน้ากัน จัดรถแห่ประชันกัน 6หมู่บ้าน สร้างความสนุกสนาน สมกับการรอคอย นายอนันต์ ทองดอนเถื่อน ผู้ใหญ่บ้านม.3 จัดพิธีไหว้ขอขมา รดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุในหมู่บ้าน วัฒนธรรมในหมู่บ้านบ้านทุ่งสนุ่นใต้ บอกกับผู้สื่อข่าวST NEWS หมู่3 ได้รับการสนับสนุนเครื่องดื่ม-อาหารจากผู้ใหญ่ใจดีหลายท่าน เป็นแบบนี้ทุกปี โดยเฉพาะนายธนทัต ประเสริฐนู เจ้าของตลาดสดทุ่งสนุ่น2004 สนับสนุนงบประมาณ อาหาร เครื่องดื่มทุกปีตั้งแต่ผู้ใหญ่บ้านคนเก่า ปีนี้เจ้าของตลาดสด มอบเป็นเงินสดรางวัลพิเศษ การแต่งกาย ท่าเต้นแปลกแหวกแนว แต่ละท่าเต้นที่เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยล

ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ คือ ประเพณีทำบุญทอดผ้าป่าของชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง ที่ตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่ใน ต.ระหาน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร

ช่วงเวลา

ประเพณีแห่ธงสงกรานต์จะจัดขึ้นในราวเดือนเมษายนหลังจากวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งเป็นวันสงกรานต์ผ่านไปแล้วสัก ๑ สัปดาห์ จัดขึ้นตามหมู่บ้านต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

ความสำคัญ

เนื่องด้วยชาวบ้านที่นับถือพุทธศาสนาพิจารณาเห็นว่าหลังจากสงกรานต์แล้ว เป็นเวลาว่างจากการทำนา และการทำบุญ ในระยะนั้นเว้นห่าง พระภิกษุอาจมีอาหารไม่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นฤดูแล้งไม่มีฝนตก เหมาะแก่การที่วัดแต่ละแห่งจะทำการปรับปรุงพัฒนา รื้อ ถอน ซ่อมแซมกุฎิเสนาสนะ และศาสนสถาน โบสถ์ ศาลา ให้มีความสมบูรณ์สวยงามเตรียมไว้ให้บริการแก่ชาวบ้านในการประกอบกิจกรรมทางศาสนา จึงควรที่ชาวบ้านจะได้ทำการสนับสนุนวัดให้ได้มีเครื่องมือเครื่องใช้ และงบประมาณเงินทองไว้ใช้ดำเนินการดังกล่าวได้สะดวกยิ่งขึ้น ชาวบ้านจึงชักชวนกันสละทรัพย์สิ่งของนำไปมอบให้กับวัดใกล้บ้านของตน

กิจกรรม
ประเพณีเริ่มด้วยการบอกบุญ เรี่ยไรไปตามหมู่บ้านด้วยขบวนกลองยาว หรือ ดนตรีพื้นบ้านล่วงหน้าวันงาน ๑-๒ วัน วันแห่ธงไม่ได้กำหนดวันแน่นอน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของชาวบ้าน เช่นจะจัดในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ เพราะชาวบ้านในหมู่บ้านหยุดงาน และกลับจากโรงงานมาเยี่ยมพ่อแม่
ธงสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ ยาวประมาณ ๑๐ เมตรขึ้นไป ปลายธงมีกิ่งไผ่และที่สำหรับแขวนสิ่งของไว้ สิ่งที่จะนำมาแขวนที่ธงนั้นได้แก่ ผืนธงชาติและสิ่งของเครื่องใช้ที่มีลักษณะเป็นผืนพอจะแขวนได้ เช่น เสื่อ พรม ผ้าม่าน ซึ่งของเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทางวัดจำเป็นต้องมีไว้ใช้ ชาวบ้านจะพับให้มีขนาดพอเหมาะที่จะแขวนกับปลายธงได้เพียง ๑ ชิ้นเท่านั้น ตกแต่งให้สวยงามด้วยดอกไม้สดและดอกไม้แห้ง
การแห่ธงชาวบ้านจะแห่ออกจากหมู่บ้าน นำขบวนด้วยเสาธงซึ่งมีคนแบกมาหลายคน ตามด้วยกลองยาวซึ่งเป็นดนตรีพื้นบ้าน และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่การพัฒนาวัด ที่ขาดเสียไม่ได้ คือ พุ่มผ้าป่าที่ประกอบด้วยผ้าไตรสำหรับภิกษุนุ่งห่ม บาตร และตาลปัตร โดยเฉพาะธนบัตรที่ใช้ไม้คีบแล้วเสียบไว้กับต้นกล้วยนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งเหล่านี้เรียกว่า “หางธง” วัดแต่ละวัดจะมีขบวนแห่ธง แห่มายังวัดหลายธง เช่น รอบ ๆ วัด มี 6หมู่บ้าน ในวันแห่ธงสงกรานต์จะแห่มาถึง 6ธง หรือ 6คณะพร้อม ๆ กัน
ความสนุกสนานที่ชาวบ้านชื่นชอบคือขบวนแห่ธง ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์แตกต่างกันไป เช่น การแต่งกาย การร่ายรำ การแบกธงที่มีลีลาต่าง ๆ กัน และเกิดความสนุกสนาน เมื่อถึงวัดแล้วจะวนรอบโบสถ์ ๓ รอบ จึงทำพิธีถวายธงบนศาลาวัด แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีพระคุณ แล้วมีการสรงน้ำพระเป็นเสร็จพิธี

สาระ

ประเพณีนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยชาวบ้านทั้งหญิงชายช่วยกันจัดทำอุปกรณ์ในการแห่ การเรี่ยไรทุนทรัพย์เพื่อการกุศล พร้อมทั้งวงดนตรีรถแห่ ที่จะต้องมาช่วยกัน นับเป็นความสามัคคีประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งเป็นความเชื่อที่ว่า การได้ทำบุญแล้ว ย่อมนำมาซึ่งความสุข ทั้งปัจจุบันและอนาคต ก่อให้เกิดความสงบ ความสามัคคี

นายธนทัต ประเสริฐนู ปีนี้เพิ่มกิจกรรมที่เป็นกระแส ท่าเต้นในโลกโซเชี่ยล ทั้งหญิง-ชาย เด็ก ผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มสีสันและเป็นกำลังใจ ในความคิดสร้างสรรค์การแต่งตัว ท่าเต้น ชนะเลิศ2,500บาท รองชนะเลิศ1,500บาทและรางวัลชมเชย500บาทหลายรางวัล ถึงจะเป็นเงินจำนวนไม่มาก แต่ผู้ที่ได้รับรางวัลต่างมีความภูมิใจ เพราะเป็นประเพณีของวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม หมู่บ้านของเราก็เข้าร่วมตลอดทุกปีอยู่แล้ว ปีหน้าจะจัดให้เต็มคาราเบลกว่าปีนี้ แน่นอน

ภาพ-วิสุทธิ์ สมทอง ข่าว-ธนัทอร พิลาถ้อย ST NEWS สื่อโซเชี่ยลประเทศไทย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ชมรมสื่อโซเชียลประเทศไทย
095-342-168