! เมื่อขบวนการยุติธรรม ล่าช้า ประชาชนมองว่าไม่มีความยุติธรรม อยากเห็นศาลประชาชน ก็ดังขึ้น
“คอลัมน์ 2 ป.” การจัดตั้งศาลประชาชน
แนวคิดการจัดตั้งศาลประชาขน คือการคิดนอกกรอบระบบศาลยุติธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ในหลักความเป็นจริงที่ว่าขบวนการยุติธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ กลายเป็นขบวนการที่ไม่ยุติธรรม ที่ไม่สามารถตั้งมั่นอยู่บนความถูกต้องชอบธรรม เพื่ออำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไป
- มีบ่อยครั้ง ที่คดีความไม่คืบหน้าในชั้นพนักงานสอบสวน
- มีบ่อยครั้งที่คดีความถูกสั่งไม่ฟ้องในชั้นอัยการ
- มีบ่อยครั้งที่คดีความถูกดองไว้ในชั้นอัยการจนหมดอายุความ
- มีบ่อยครั้งที่คดีความรอการตัดสินนับ 10 ปี
- มีบ่อยครั้งที่การตัดสินคดีความของผู้พิพากษาลำเอียงไม่ถูกต้อง
- มีขั้นตอนของการตัดสินคดีความเนิ่นนานเกินไป จนเกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียหาย
- มีบ่อยครั้งที่ผู้พิพากษา จงใจเจตนาบ่ายเบี่ยงไม่ตัดสินตามข้อเท็จจริง เช่นศาลดีกายกคำร้อง ทั้งๆที่มีข้อเท็จจริง
- มีบ่อยครั้งที่ผู้พิพากษาตัดสินคดีความขัดแย้งต่อความรู้สึกของประชาชน
จากเหตุผลต่างๆเหล่านี้
- จึงตั้งคำถามว่าประชาชนยังฝากความหวังในขบวนการยุติธรรมของประเทศไทยต่อไปได้หรือไม่
- จึงตั้งคำถามว่าในเมื่อประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยไม่ได้รับความเป็นธรรม แล้วประชาชนจะต้องไปพึ่งหน่วยงานที่ไหนได้อีกไหม
ตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่มาของแนวคิดการจัดตั้ง"ศาลประชาชน"เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
1.การจัดตั้งศาลประชาชน จะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วย"ศาลประชาชน"
- จะต้องตั้งที่ปรึกษาหลายฝ่ายมาช่วยกันร่าง พรบ.ศาลประชาชน
- ส่งเสนอความเห็นชอบผ่านสภาฯ
2.องค์คณะผู้พิพากษาในศาลประชาชน ในรูปแบบคณะลูกขุน
- คณะลูกขุนมาจากตัวแทนประชาชนในกลุ่มต่างๆ ตามจำนวนทีเหมาะสม เช่น 20 คน จาก 20 อาชีพ
- การเลือกคณะลูกขุนต้องผ่านการเลือกหลายขั้นตอน เช่น การทดสอบความรู้,ศีลธรรม,คุณธรรม,ความประพฤติ
- ต้องเป็นบุคคลที่เป็นยอมรับของสังคมทั่วไป
- หน้าที่ของศาลประชาชน
- รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนทุกเรื่องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากขบวนการยุติธรรมต่างๆ
- การตัดสินของคณะลูกขุนในศาลประชาชน จะต้องเป็นที่สุด ที่ธรรมรงค์ไว้ซึ่งความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยแท้จริง
หมายเหตุ
รูปแบบศาลประชาชน ยังจะต้องมีการเสนอความเห็นจากทุกๆฝ่ายเพื่อความเหมาะสม
“คอลัมน์ 2 ป.”