วันที่21เมษายน2566 กรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ241ปี ประวัติศาสตร์ชาติไทยเรามีพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่๑-รัชกาลที่๑๐ เราเสียดินแดนของไทยมาแล้วถึง๑๔ครั้ง คนไทยทั้งประเทศขอสัญญาว่า เราจะไม่ยินยอม เสียดินแดนของไทยเป็นครั้งที่๑๕ เราต้องช่วยกันปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คนไทยต้องสามัคคีกันไว้ อย่าหลงเชื่อนักการเมืองที่หนีอาญา อยู่ต่างประเทศให้ รมว.ต่างประเทศไทย เซ็นต์รับรองให้เขมรขึ้นทะเบียนประสาทเขาวิหารเป็นมรดกโลก คำสัญญา พล.อ.สฤกษ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีคนที่11 สงวนสิทธิ์แย้งคำพิพากษาของศาลโลกมา50ปี คำปราศรัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์”ข้าพเจ้าอยากจะกล่าว่า ข้าพเจ้ามาพูดกับท่านด้วยน้ำตา แต่น้ำตาของข้าพเจ้าเป็นน้ำตาของลูกผู้ชาย ของเลือด ของความคั่งแค้นและการผูกใจเจ็บไปชั่วชีวิต ทั้งชาตินี้และชาติหน้า และ พี่น้องชาวไทยที่รัก ในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องเอาประสาทพระวิหาร กลับคืนมาเป็นของชาติไทย ให้จงได้”100ชาติก็ทวงคืนไม่ได้ “จบแล้วครับนาย” ความรักชาตินายกรัฐมนตรีคนที่11กับนายกรัฐมนตรีคนที่23 ต่างกันฟ้ากับดิน
ประวัติศาสตร์ไทย กับการเสียดินแดนให้ต่างชาติจำนวน 14 ครั้ง
ไทยเสียดินแดน14ครั้ง
นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อพ.ศ.2325 จวบจนปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ชาติไทย ต้องเสียดินแดนให้ต่างชาติ ถึง 14 ครั้ง ต้องดูให้จบนะ น้ำตาไหล ขอขอบคุณผู้จัดทำ รวมทั้งผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ทำนอง และผู้ขับร้องแหล่ด้วยครับ ขอคารวะและขอปรบมือให้ สุดยอด สุดยอด
ประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของประเทศไทย มีดังนี้
ครั้งที่ 1 เสียเกาะหมาก (ปีนัง) ให้กับประเทศอังกฤษ เมื่อ 11 สิงหาคม 2329 พื้นที่ 375 ตร.กม. ในสมัย ร.1 เกิด จากพระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก เพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป
ครั้งที่ 2 เสียมะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า เมื่อ 16 มกราคม 2336 พื้นที่ 55,000 ตร.กม. ในสมัย ร.1 แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ 1 ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้ ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป
ครั้งที่ 3 เสียบันทายมาศ (ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2353 ในสมัยรัชกาลที่ 2
ครั้งที่ 4 เสียแสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.2368 พื้นที่ 62,000 ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ 3 แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ 20 ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ไกล ประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และเกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้ (กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง
ครั้งที่ 5 เสียรัฐเปรัค ให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการสูญเสีย ที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่ห่างจากครั้งก่อนไม่ถึง 1 ปี
ครั้งที่ 6 เสียสิบสองปันนา ให้กับจีนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2393 พื้นที่ 90,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราช หนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน มาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป
ครั้งที่ 7 เสียเขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410 พื้นที่ 124,000 ตร.กม. ในสมัย ร.4 ฝรั่งเศสบังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครอง จากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดน เขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจาก ฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ 15 มกราคม 2438 โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.5 ที่ไปประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป
ครั้งที่ 8 เสียสิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 22 ธันวาคม 2431 พื้นที่ 87,000 ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ 5 พวกฮ่อ ก่อกบฏ ทางฝ่ายไทยจัด กำลังไปปราบ 2กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลัง จากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง (เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษา เมืองไลและเมืองเชียงค้อ
ครั้งที่ 9 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 5 เมื่อ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2435 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากรอันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง
ครั้งที่ 10 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 3 ตุลาคม 2436 พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญา ไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย 1 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก ๓ ล้านบาท และยังไม่พอ ฝรั่งเศสได้ ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง 15 ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุด ของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขายเครื่องแต่งกาย เพื่อนำเงินมาถวาย ร.5 เป็นค่าปรับ ร.5 ต้องนำถุงแดง (เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้
ครั้งที่ 11 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่านคือ จำปาสัก และไซยะบูลี) ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ 12 พฤษภาคม 2446 พื้นที่ 25,500 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศส เพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืน จันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรี แล้วไปยึด เมืองตราดแทนอีก 5 ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้ว ยังลุกล้ำย้านนาดี, ด่านซ้าน จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่ พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย
ครั้งที่ 12 เสียมลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 23 มีค. 2449 พื้นที่ 51,000 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับ ของฝรั่งเศส ในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมาก เพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ 6 กรกฎาคม 2450 กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย
ครั้งที่ 13 เสียรัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส ให้กับอังกฤษเมื่อ 10 มีนาคม 2451 พื้นที่ 80,000 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยได้ทำสัญญากับอังกฤษ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษในไทย
ครั้งที่ 14 เสียเขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ 15 มิถุนายน 2505 พื้นที่ 2 ตร.กม. ในสมัย ร.9 ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจาก หลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ จะเสด็จเขาพระวิหาร จึงขึ้นไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วถ่ายรูปไว้เป็น หลักฐาน และนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก ด้วยเสียง 9 ต่อ3 พล.อ.สฤกษ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี คนที่11 ของไทย สงวนสิทธิ์แย้งคำตัดสินของศาลโลก
ประเทศ193ประเทศ ปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
- ประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเจ้ากล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประมุข โดยเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13ตุลาคม2559-ปัจจุบัน
2.ประเทศบาห์เรน
ADVERTISEMENT
His Majesty the King Shaikh Hamad Bin Isa Al-Khalifa (ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองรัฐตั้งแต่ 6 มี.ค. 2542 และกษัตริย์แห่งบาห์เรนตั้งแต่ 14 ก.พ. 45)
ที่ตั้งและพื้นที่ ประเทศบาห์เรนประกอบด้วยหมู่เกาะเล็ก ๆ (archipelago) ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ 33 เกาะในอ่าวเปอร์เซีย จากฝั่งทะเลตะวันออกของซาอุดีอาระเบีย 15 ไมล์ และจากชายฝั่งทะเลตะวันตกของกาตาร์ 17 ไมล์ บาห์เรนมีพื้นที่ประมาณ 620 ตร.กม.(264.4 ตารางไมล์) ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยทรายและหิน ประชากร 645,361 คน (ก.ค.2544) รวมทั้งต่างชาติ 228,424 คน เมืองหลวง กรุง Manama
3.เบลเยียม
สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 (9 สิงหาคม 2536)
ที่ตั้ง ยุโรปตะวันตก มีอาณาเขตจรดทะเลเหนือ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนีฝรั่งเศส และลักเซมเบิร์ก พื้นที่ 32,545 ตารางกิโลเมตร ประชากร-กลุ่มชนชาติ ประมาณ 10.27 ล้านคน เป็นชาวเฟลมมิช 58% ชาววอลลูน 31% และชาวเยอรมนีและอื่น ๆ 11% เมืองหลวง กรุงบรัสเซลส์
4.ประเทศภูฏาน
สมเด็จพระราชาธิบจิกมี ซิงเย วังชุก (Jigme Singye Wangchuck) ขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2515 (ค.ศ.1972) เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ Wangchuck
- เนการาบรูไนดารุสซาลาม
สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (His Majesty Paduka Seri Baginda Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่ 5 ตุลาคม 2510 ที่ตั้ง ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว พื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
6.กัมพูชา
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหโมนี (Preah Bat Samdech Preah Baromneath Norodom Sihamoni) โดยได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัลลังก์ให้ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547)
7.เดนมาร์ก
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอ ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
8.ประเทศญี่ปุ่น
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทรงเป็นประมุข โดยเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532-ปัจจุบัน
9.คูเวต
เชค ซอบะห์ อัล ฮะหมัด อัล ซอบะห์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน
10.เลโซโท
สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน
11.ลิกเตนสไตน์
ประมุขประเทศ His Serene Highness Reigning Prince Hans Adam II (ขึ้นครองราชย์วันที่ 13 พฤศจิกายน 2532) และเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 ได้โปรดเกล้าให้ Hereditary Prince Alois ปฏิบัติพระราชภารกิจทุกเรื่องแทนพระองค์
12.ลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2543-ปัจจุบัน
13.มาเลเซีย
สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์มหารายาแห่งรัฐตรังกานู เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน
- ประเทศโมนาโก
เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก ประมุขแห่งโมนาโกองค์ปัจจุบัน เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน
15.เนเธอร์แลนด์
สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน
16.ประเทศนอร์เวย์
สมเด็จพระราชาธิบดีเฮรัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 17 เดือนมกราคม พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน
17.โอมาน
สุลต่านคาบูส บิน ซาอิด ทรงเป็นสุลต่านแห่งรัฐ พ่วงกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศโอมาน เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2513-ปัจจุบัน
18.กาตาร์
เชคตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน
19.ซาโมน (Samoa)
ประมุขรัฐ H.H. Malietoa Tanumafili II ได้รับการแต่งตั้งเมื่อปี 2505 (ค.ศ. 1962) จากการสืบตระกูลและจะดำรงตำแหน่งประมุขตลอดชีพ อย่างไรก็ตาม ผู้สืบทอดตำแหน่งคนต่อไปจะมาจากการเลือกตั้งและจะดำรงตำแหน่งในวาระ 5 ปี ที่ตั้ง หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ อยู่ใกล้กับหมู่เกาะคุก กึ่ง กลางระหว่างฮาวายและ นิวซีแลนด์ ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ Savai’i และ Upolu และเกาะเล็กๆ อีกจำนวน 7 เกาะ ตั้งอยู่ในแนวเขตภูเขาไฟ พื้นที่ 2,944 ตารางกิโลเมตร มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 120,000 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวง กรุงอาปีอา (Apia) มีประชากรประมาณ 34,000 คน
20.ประเทศสเปน
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปน เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน
21.ประเทศสวาซิแลนด์
สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 แห่งสวาซิแลนด์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2529-ปัจจุบัน
- ประเทศสวีเดน
สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ ทรงเป็นพระประมุของค์ปัจจุบันของราชอาณาจักรสวีเดน เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2516-ปัจจุบัน - ประเทศตองกา
สมเด็จพระราชาธิบดีตูปูที่ 6 แห่งตองกา เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน
24.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เชค เคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน ทรงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ 2 แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเป็นเจ้าผู้ครองนครอาบูดาบี เสด็จขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน
25.สหราชอาณาจักร
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495-ปัจจุบัน พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองเครือจักรภพอังกฤษ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 16 ประเทศ ได้แก่ 1.สหราชอาณาจักร 2.แคนาดา 3.ออสเตรเลีย 4.นิวซีแลนด์ 5.จาไมกา 6.บาร์เบโดส 7.หมู่เกาะบาฮามาส 8.เกรนาดา 9.ปาปัวนิวกินี 10.หมู่เกาะโซโลมอน 11.ตูวาลู 12.เซนต์ลูเซีย 13.เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ 14.แอนติกาและบาร์บูดา 15.เบลิซ 16.เซนต์คิตส์และเนวิส
คอลัมน์ ป.โท ราม