วัยรุ่นY2K ตัวตึง ตัวแม่ ดุดัน ไม่เกรงใจใคร ทรงอย่างแบดแซดอย่างบ่อย ประจำหมู่บ้านทุ่งสนุ่นใต้ ม.3 ว่างเว้นงานประเพณีโบราณสงกรานต์แห่ธง มา3ปีเพราะสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาด อาทิตย์ที่16เมษายน จัดเต็มคาราเบลแน่วันอาทิตย์นี้ กรรมการหมู่บ้าน เตรียมความพร้อม เสบียงพร้อมแน่นะแม่! หัวจะปวดถ้าขาดเสบียง เต้นไม่ออกจริงๆ
สำนักงานข่าวST NEWS รายงาน
ประเพณียกธง ของวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม ต.ระหาน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร ชาวบ้านหมู่ 2,3,4,6,7,8, รวม6หมู่บ้าน ที่หมู่บ้านทั้ง6อยู่ไกล้วัด-ทำบุญวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม เป็นงานแห่ธง ที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอบึงสามัคคี และอาจจะใหญ่ที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร เพราะคน6หมู่บ้านหลายพันคน แต่ละหมู่บ้านจะไม่ยอมน้อยหน้ากัน สั่งรถแห่วงดังมาร่วมงานทั้ง6หมู่บ้าน นางรำประชันฝีเท้า จัดเต็มคาราเบล ท่าเต้นที่เป็นไวรัลในโซเชี่ยล จะเห็นในงานแห่ธงสงกรานต์วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม
หมู่2บ้านกระบวยทองใต้ วงจันทร์ ม.3 บ้านทุ่งสนุ่นใต้ วง ช.ช้าง ม.4 บ้านทุ่งสนุ่นเหนือ วงแฟมิลี่มิวสิค ม.6บ้านหัวทุ่ง วงดาวน้อยโชว์ ม.7บ้านฝั่งคลอง วงเอ็มมิวสิค ม.8บ้านใหม่พัฒนา วงสมบูรณ์พาเพลิน เป็นงานบุญใหญ่ที่ลูกหลานชาวบ้านทั้ง6หมู่ จะร่วมร่วมแรงร่วมใจรัก สามัคคีเกิด สร้างรอยยิ้ม
“จำไม่ได้แล้ว เพราะตั้งแต่เกิดมาก็เห็นเขายกธงกันแล้ว” คำบอกเล่าจากคุณตาในหมู่บ้านทุ่งสนุ่นใต้ ม.3 ต.ระหาน อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร ที่สามารถยืนยันได้ว่า ประเพณีการยกธงนี้ น่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า60ปีแล้ว วันนี้เราลองมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งประเพณีที่น่าสนใจนี้กันดีกว่า
ในช่วงนี้ของทุกปีลูกหลานทุกบ้านจะต้องมารวมตัวกันเพื่อช่วยกันตกแต่งเสา และธง เริ่มด้วยการหาไม้ไผ่จากในระแวกหมู่บ้านเพื่อทำตัวเสา เมื่อก่อนไม่ได้ตกแต่งให้สวยงามขนาดนี้ พอมาตอนหลังเริ่มมีการประกวดความสวยของธงแต่ละหมู่บ้าน เลยต้องเริ่มประยุกต์เพิ่มความสวยให้มากขึ้น ต้นไผ่ต้องตรง สวย นำมาขูดผิว ตกแต่งกิ่งก้าน และทาด้วยขมิ้นผงผสมน้ำให้ต้นเหลือง
ลูกหลานกลับมาจากกรุงเทพฯ เพื่อช่วยกันทำธง
ดอกไม้ระดับธง เพื่อความสวยงาม
ด้านบนประดับไปด้วย ผ้า ริบบิ้น และเชือกถักเป็นรูปใยแมงมุม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม และรูปอื่นๆ สมัยก่อนนั้นใช้ใบตาล หรือใบลานนำมาสานเป็นพวกรูปปลาตะเพียน หรือตะกร้อ ต่อมาพัฒนามาเป็นผ้าสี ช่วงหลังๆ เพิ่มเติมความสวยงามเข้าไปด้วยริบบิ้นหรือ โบว์ ตามยุคสมัย
ทาเสาด้วยขมิ้นผสมน้ำ
โดยความหมายของสิ่งที่ผูกไว้บนเสาของธงจะสะท้อนเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน งานสานรูปลา และนก สะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของท้องนา ตะกร้อเป็นการละเล่นชนิดหนึงของคนในหมู่บ้านสมัยก่อน ที่จะนิยมเล่นตะกร้อกันในช่วงวันสงกรานต์ ซึ่งสิ่งที่ประดับยู่บนเสาของธงนั้นเกิดมาจากการให้เคารพบูชาท้องนาตลอดจนธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ ที่ช่วยให้ชาวบ้านกินดีอยู่ดี ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ บนบ่าของเสาจะเป็นรูปพญานาค เพื่อขอฝน เพื่อให้มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี ในส่วนของผ้าธงนั้น เมื่อก่อนจะเป็นผ้าดิบหรือผ้าขาวม้าแบบตามมีตามเกิด จากนั้นประดับด้วยพวงดอกไม้สวยงาม ไม่มีแบบ
บ่าของเสาเป็นรูปพญานาค
ก่อนหน้านี้ยังไม่ได้มีการจัดประเพณีนี้อย่างจริงจัง มีเพียงบางบ้านเท่านั้นที่จะยกธงในวันสงกรานต์ คนในหมู่บ้านเลยมาประชุมกันเพื่อหาทางอนุรักษ์ประเพณีนี้เอาไว้ จนเกิดมาเป็นประเพณียกธง วันสงกรานต์อย่างที่เห็น เมื่อก่อนกำหนดยกธงวันที่ 19 แต่เนื่องจากเห็นว่ากินเวลานานเกินไปจึงปรับมาเป็นวันที่ 16 เพื่อให้ลูกหลานที่ทำงานต่างจังหวัดได้กลับไปทำงานได้ทัน
พี่น้องเชื้อสายไทยลาวคลั่งกำลังตกแต่งเสา
ความสนุกของงานเริ่มด้วยการแห่ธงไปวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะเตรียมเครื่องเสียง วงดนตรี สำหรับร้องรำทำเพลงตอนแห่ และจะมีผ้าป่าหางธง คือการรวบรวมเงินผ้าป่าเพื่อนำไปทำบุญที่วัด โดยเมื่อแห่มาถึงวัดจะนำเสาธงไปเตรียมยกในจุดที่จัดเตรียมไว้ให้ ส่วนผ้าธงและผ้าป่าหางธงจะนำไปเวียนรอบโบสถ์ 3 รอบและนำผ้าป่ามารวมกันทุกหมู่บ้าน ส่วนผ้าธงจะนำกลับไปติดกับเสาอีกรอบ จากนั้นจะเป็นคิวของชาวบ้านเดินเข้าแถวมาพรมน้ำเสา ด้วยการนำน้ำอบใส่ขัน และใช้กิ่งมะยมประพรมไปบนเสาเพื่อความเป็นสิริมงคล ภาพที่เห็นคือการเข้าคิวเป็นขบวนรถไฟ ไม่มีการแย่งกัน แสดงถึงความสามัคคีของคน
ดนตรีสนุก ต้องแดนซ์กันหน่อย คนในหมู่3 บ้านทุ่งสนุ่นใต้ เต้นกันกระจาย มีเถ้าแก่ในหมู่บ้าน ให้รางวัลสำหรับนักเต้น ที่เต้นท่าไม่ตกเทรน เพิ่มสีสัน สร้างความสนุกสนาน
ผ้าป่าหางธง ทยอยมาถึงวัด
จากนั้นรอพระสวด ให้พร และรอสัญญานจากวัดเพื่อแข่งกันยกธง เมื่อถึงเวลา ใครยกธงขึ้นเสร็จก่อน จะถือว่าเป็นผู้ชนะ โดยแต่ในละหมู่บ้านจะส่งผู้ชาย หรือคนที่แข็งแรงมาเป็นคนยก โดยความสนุกจะเป็นในช่วงที่ต้องแข่งกันยก ใครวางแผนมาดี ยกเสาธงขึ้นและปักหลักให้แน่นเป็นหมู่บ้านแรกก็จะชนะไป แต่การแข่งขันนี้ไม่ได้มีรางวัล สิ่งที่ได้คือความสามัคคีและความภูมิใจในธงของหมู่บ้านตนเท่านั้น
ประเพณีมีรอยยิ้ม 😉
พรมน้ำเสาธง เพื่อความเป็นสิริมงคล
หลังจากยกธงเสร็จแล้ว ไม้ไผ่ส่วนที่เป็นเสาจะถูกมอบให้วัดนำไปใช้ประโยชน์ และผ้าธงที่มีความสวยงามจะถูกนำมาใช้ประดับตกแต่งสำหรับงานวัดครั้งต่อๆ ไป
ประเพณีนี้ เป็นสิ่งที่คนในหมู่บ้านต่างเฝ้ารอให้มาถึง นอกจากความสนุกสนานแล้ว ความสุขที่เกิดจากคนในครอบครัวได้กลับมาพร้อมหน้า พูดคุย และร่วมทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมกัน ดูจะเป็นความสุขแท้จริงที่ซ่อนอยู่ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ กับสีสันงานประเพณีแบบนี้แหละ คือรากฐานของรอยยิ้มในสังคมไทยที่เกิดขึ้นมาอย่างแท้จริง
ถึงช่วงเวลายกธง
ธงของทุกหมู่บ้านถูกยกขึ้น
สำหรับงานประเพณียกธง บ้านทุ่งสนุ่นนั้นจะถูกจัดขึ้นในทุกปี ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจแวะมาเยี่ยมชม เตรียมหาวันว่างสำหรับสงกรานต์ปีหน้า แล้วแวะมาที่วัดทุ่งสนุ่นรัตนารามกันได้เลย
ภาพ-วิสุทธิ์ สมทอง ข่าว -สมหมาย ศรีสมุทร ST NEWS สื่อโซเชี่ยลประเทศไทย